หน้าเว็บ

Lecture


 
 ______________________________________________________________________
ออกแบบเนวิเกชันสำหรับเว็บ
ความสำคัญของระบบเนวิเกชัน
            ใน ชีวิตจริงของเราบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องขับรถไปในที่ๆ ไม่เคยไปมาก่อน สิ่งที่ทุกคนปราถนาคือการไปถึงที่หมายโดยไม่หลงทางเพราะนอกจากจะทำให้เราไป ไม่ถึงที่หมาย เสียเวลาเสียพลังงานแล้วยังอาจทำให้อารมณ์เสียได้อีก โชคดีที่เรามีระบบการป้องกันการจราจรที่ดี เช่นป้ายแสดงชื่อถนน ป้ายแสดงชื่อทางแยก สิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ปะกอบกันก็จะช่วยให้เรารู้ตำแหน่งปัจจุบันและทิศ ทางไปสู่จุดหมาย        
เช่น เดียวกับโลกอินเตอร์เน็ท ที่คุณอาจหลงทางในเว็บไซท์บางแห่งเพราะขาดระบบการนำทางที่ดีทำให้เกิดความ รู้สึกสับสนและไม่พอใจ ขณะที่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบนิเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายขณะที่ท่องเว็บ โดยสามารถรู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้าง และควรจะไปทางไหนต่อ
การ เข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกเป็นหัวใจสำคัญของระบบเนวิเกชั่น การมีเนื้อหาในเว็บไซท์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการอย่าง สม่ำเสมอแต่เนื้อหานั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่ พบ ความสำเร็จของเว็บไซท์ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้สามารถพึ่งพาระบบเนวิเก ชั่นในการนำทางไปถึงที่หมายได้
ระบบเนวิเกชั่นนั้นอาจประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่นเนวิเกชันบาร์ หรือ pop-up menu ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บเพจ และอาจอยู่ในหน้าเฉพาะที่มีรูปแบบป็นระบบสารบัญ ระบบดัชนี หรือ site map ที่สามารถให้ผู้ใช้คลิกผ่านโครงสร้างข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆได้ การเข้าใจถึงรูปแบบและองค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นเหล่านี้ จะทำให้คุณออกแบบระบบเนวิเกชันด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
รูปแบบของเนวิเกชัน
                ระบบเนวิเกชันสำหรับเว็บไซท์ขนาดใหญ่มักใช้หลายรูปแบบร่วมกันเพื่อเพิ่มช่อง ทางการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น ซึ่งผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม โดยไม่ให้หลากหลายหรือจำกัดเกินไป
ระบบเนวิเกชั่นแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
    • ระบบเนวิกเกชั่นแบบลำดับขั้น (Hierarchical)
    • ระบบเนวิกเกชันแบบโกลบอล (Global)
    • ระบบเนวิกเกชั่นแบบโลคอล (Local)
    • ระบบเนวิกเกชันแบบเฉพาะที่ (Ad Hoc)
องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)
                ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาใน ส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชั่นบาร์ เนวิกเกชันเฟรม Pull down, menu, pop-up menu, image mapและ search box
เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)
                เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น  แบบโกลบอล  และแบบโคบอล  โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ  ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ  โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้  และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)
                การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิ เกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ  คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ  หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน  โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน  การลิงค์จากเฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในอีก เฟรมหนึ่งได้  ดังนั้นส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ  ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใด ๆ  ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง  การแยกระบบเนวิเกชันบาร์ออกจากหน้าข้อมูลในลักษณะนี้  จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา  และยังคงความสม่ำเสมอทั่งทั้งเว็บไซต์
                อย่างไรก็รตาม  การใช้เฟรมในระบบเนวิเกชันนั้น  สร้างปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการ  อาทิเช่น
1.               การครอบครองพื้นที่หน้าจอตลอดเวลา
2.               รบกวนการทำงานของบราวเซอร์
3.               ทำให้เวลาในการแสดงผลช้ายิ่งขึ้น
4.               ต้องใช้การออกแบบที่ซับซ้อน
ณสมบัติสำคัญของระบบเนวิเกชัน
                ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการสร้างเว็บไซต์มากมาย  แต่ก็ไม่มีโปรแกรมไหนที่จะช่วยสร้างระบบเนวิเกชันให้คุณได้อย่างมี ประสิทธิภาพ  การใช้คุณสมบัติพิเศษ On Mouse Over  หรือ Image Map  ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก   ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องรู้หลักนการสร้างเนวิเกชันที่เหมาะสม  เพื่อจะสื่อถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ  จากนั้นจึงใช้โปรแกรมต่าง ๆ  ช่วยสร้างสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จขึ้นมา  คุณสมบัติของระบบเนวิเกชันทั้ง 10 ประการต่อไปนี้  ไม่ได้รวมกันเป็นสูตรสำเร็จแต่อย่างใด  แต่จะเป็นส่วนช่วยให้เข้าใจในหลักการ  และนำไปใช้ในการะบวนการออกแบบได้อย่างดี
ระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ  ควรมีคุณสมบัติดังนี้
o    เข้าใจง่าย
o    มีความสม่ำเสมอ
o    มีการตอบสนองต่อผู้ใช้
o    มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการใช้งาน
o    นำเสนอหลายทางเลือก
o    มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา
o    มีรูปแบบที่สื่อความหมาย
o    มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
o    เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

หลักการออกแบบหน้าเว็บ
สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ (Visual Hierarchy)
                หลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บอย่างหนึ่งก็คือ  การสร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ  ภายในหน้าเว็บ  เพื่อเน้นให้เห็นว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญมาก  สำคัญรองลงไปหรือสำคัญน้อยตามลำดับการจัดระเบียบขององค์ประกอบอย่างเหมาะสม  จะช่วยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ  ในหน้าเว็บได้  ในการออกแบบคุณจึงควรให้ความสนใจกับปัจจัยเหล่านี้ด้วย
                ขนาดเปรียบเทียบ (relative size)  ขององค์ประกอบต่าง ๆ  ในหน้าเว็บจะช่วยสื่อความหมายถึงความสำคัญของสิ่งหนึ่งต่อสิ่งอื่น ๆ  โดยองค์ประกอบที่มีขนาดใหญ่ย่อมสามารถดึงความสนใจของผู้ใช้ได้ก่อน  และยังแสดงถึงความสำคัญที่มีเหนือองค์ประกอบขนาดเล็ก  ตัวอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปก็คือ  การกำหนดหัวข้อเรื่องต่าง ๆ  ให้มีขนาดใหญ่กว่าส่วนของเนื้อหาเสมอ  เพื่อแสดงให้ผู้ใช้มองเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจจุสำคัญของเนื้อหาได้ดีขึ้น  แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณกำหนดให้ส่วนของหัวข้อมีขนาดเล็กกว่าเนื้อหาก็จะส่งผล ให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ทันที
  • ตำแหน่งและลำดับขององค์ประกอบ แสดงถึงลำดับความสำคัญของข้อมูลที่คุณต้องการให้ผู้ใช้ได้รับ เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่รวมถึงภาษาไทยและอังกฤษจะอ่านจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง คุณจึงควรจัดวางสิ่งที่มีความสำคัญไว้ที่ส่วนบนหรือด้านซ้ายของหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นได้ก่อน แต่ถ้าคุณจัดวางสิ่งสำคัญไว้ที่ส่วนท้ายของหน้า ผู้ใช้จำนวนมากอาจจะไม่ได้รับข้อมูลนั้น
  • สีและความแตกต่างของสี  แสดงถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆภายในหน้าสีที่เด่นชัดเหมาะสม สำหรับองค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก ส่วนองค์ประกอบที่ใช้สีเดียวกันย่อมสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และความสำคัญที่เท่าเทียมกัน โดยทั่วไปการใช้สีที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้ ให้มองเห็นและตอบสนองอย่างรวดเร็ว แต่การใช้สีที่หลากหลายเกินไปอย่างไม่มีความหมายเต็มไปหมดทั้งหน้า กลับจะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เสียมากกว่า
ภาพเคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี แต่คุณจะต้องใช้อย่างจำกัดและระมัดระวัง เพราะการที่เราใช้สิ่งเคลื่อนไหวในหน้าเว็บมากเกินไปนั้น จะทำให้มีจุดสนใจบนหน้าจอมากมายจนผู้ใช้ตัดสินใจได้ลำบากว่า สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ดังนั้นคุณควรใช้ภาพเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะให้ผู้ชมเพ่งความสนใจไปตรงไหน
สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
                รูปแบบของหน้าเว็บนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเป้าหมายของเว็บไซท์ว่าต้องการ ให้ความรู้ โฆษณาหรือขายสินค้า เมื่อคุณมีแนวคิดของเว็บไซท์เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาลงมือสร้างหน้าเว็บที่จะใช้เป็นสื่อในการนำเสนอเนื้อหาภายในแก่ผู้ ใช้ ซึ่งการออกแบบที่ดีควรจะประกอบด้วยรูปแบบ บุคลิก และสไตล์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและสร้างความชัดเจนในการสื่อสาร
รูปแบบ  การ เลือกรูปแบบของหน้าเว็บที่เหมาะสม จะช่วยสร้างความเข้าใจของผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยคุณสามารถจำลองรูปแบบของสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บไซท์ไปใช้ได้ เช่น เว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ก็อาจจะออกแบบหน้าเว็บให้คล้ายกับโรง ภาพยนตร์จริงๆ
บุคลิก  เว็บไซท์แต่ละประเภทอาจมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเป้าหมายในการนำเสนอ บุคลิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาย่อมทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้ดีขึ้น เว็บไซท์แต่ละแห่งสามารถให้ความรู้สึกสนุกสนาน,เชี่ยวชาญ,วิชาการ,ทัน สมัย,ลึกลับ หรือเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น ในการออกแบบเว็บที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี คุณก็ควรออกแบบให้ แสดงถึงความทันสมัย ไฮเทค เช่นเดียวกับเนื้อหาภายในเว็บไซท์ ด้วยเหตุนี้เองเว็บไซท์ 2 แห่งที่มีเนื้อหาเหมือนกัน แต่มีบุคลิกต่างกันก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันได้
สไตล์  สไตล์ในที่นี้หมายถึงลักษณะการจัดโครงสร้างของหน้า,รูปแบบกราฟิก,ชนิดและการ จัดตัวอักษร,ชุดสีที่ใช้ และรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆทั้งหมด คุณไม่ควรสร้างสไตล์ของเว็บไซท์ตามอำเภอใจ โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม และจะต้องระวังเป็นพิเศษ เมื่อนำกราฟิกจากเว็บไซท์อื่นที่มีสไตล์แตกต่างจากของคุณเข้ามาใช้ นอกจากนี้รูปแบบของกราฟิกต่างๆ รวมถึงสไตล์ของเว็บไซท์ควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในเว็บไซท์อย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อแสดงฝีมือว่าคุณสามารถตกแต่งกราฟิก โดยใช้เทคนิคแปลกๆได้
                และไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบ บุคลิก และสไตล์ใดมาใช้ก็ตาม คุณควรใช้ลักษณะเหล่านั้นให้สม่ำเสมอตลอดทั้งเว็บไซท์ เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ถ้าคุณใช้ปุ่มเนวิเกชันที่เป็นแบบ 2D มาตลอด แล้วกลับเปลี่ยนเป็นแบบ 3D  ในบางส่วน ผู้ใช้จะรู้สึกสับสนกับความแตกต่างที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผลได้
สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งเว็บไซต์
                ปัญหาอย่างหนึ่งที่อาจจะเคยพบเห็นมาแล้วในบางเว็บไซต์  คือ  การมีรูปแบบในแต่ละหน้าที่ไม่เหมือนกัน  จนทำให้ไม่แน่ใจว่ายังอยู่ในเว็บเดิมหรือเปล่า  เมื่อคุณได้ออกแบบโครงสร้างของหน้าเว็บเพจ  รูปแบบของกราฟิก  ลักษณะตัวอักษร  โทนสี  และองค์ประกอบอื่น ๆ  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ก็ควรนำลักษณะดังกล่าวไปใช้กับทุก ๆ  หน้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์  เพื่อเป็นเอกลักษณ์ให้ผู้ใช้สามารถจดจำลักษณะของเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนั้นความสม่ำเสมอของโครงสร้างหน้าเว็บ  และระบบเนวิเกชันก้จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกคุ้นเคย  และสามารถคาดการณ์ลักษณะของเว็บได้ล่วงหน้า  ซึ่งจะช่วยให้การท่องเว็บเป็นไปอย่างสะดวก
                ในทางเทคนิคคุณสามารถใช้ Cascading Style Sheet (CSS)  ช่วยในการกำหนดสไตล์มาตรฐานให้กับองค์ประกอบต่าง ๆ  เช่น  ตัวอักษร  สี  หรือตาราง  โดยที่กำหนดรูปแบบเพียงครั้งเดียว  แล้วสามารถนำไปใช้ได้กับข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์  ทำให้เกิดความสะดวกในการออกแบบ  และยังง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
                ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือ  ในขณะที่คุณพยายามรักษาความสม่ำเสมอของเว็บไซต์ไว้โดยตลอดนั้น  บางครั้งก็อาจกลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เว็บไซต์ดูน่าเบื่อได้  แนวทางแก้ไขก็คือ  การสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจในแต่ละหน้า  โดยใช้องค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน  แต่มีสีหรือลักษณะแตกต่างไปเล็กน้อย  เพื่อทำให้เกิดลักษณะพิเศษเฉพาะของหน้านั้น  แต่ยังสามารถคงความสม่ำเสมอของเว็บไซต์ไว้ได้
การวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ในส่วนบนของหน้าเสมอ
                ส่วนบนของหน้าในที่นี้  หมายถึง  ส่วนแรกของหน้าที่จะปรากฏขึ้นในหน้าต่างบราวเซอร์  โดยที่ยังไม่มีการเลื่อนหน้าจอใด ๆ  เนื่องจากส่วนบนสุดของหน้าจะเป็นบริเวณที่ผู้ใช้มองเห็นได้ก่อน  ดังนั้นสิ่งที่อยู่ในบริเวณนี้จึงควรเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถดึงดูดความ สนใจจากผู้ใช้ได้  โดยปกติแล้วส่วนบนสุดนี้ควรประกอบด้วย
  • ชื่อของเว็บไซต์  เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันทีว่ากำลังอยู่ในเว็บอะไร
  • ชื่อหัวเรื่องหรือชื่อแสดงหมวดหมู่ของเนื้อหา  ช่วยให้ผู้ใช้รู้ถึงส่วนของเนื้อหาที่ปรากฏอยู่
  • สิ่งสำคัญที่คุณต้องการโปรโมทในเว็บไซต์  เพราะเป็นบริเวณที่ผู้ใช้ทุกคนจะได้เห็น

 >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

การออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
                เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับพิกเซลตามความละเอียดของหน้า จอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย
ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
                เนื่องจากรูปภาพในเว็บโดยส่วนใหญ่จะถูกสแดงผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ในทางเทคนิคที่ถูกต้องแล้ว ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพจึงต้องเป็น “Pixels per inch” (ppi) แต่ก็มีระบบการวัดอีกแบบหนึ่งคือ “Dot per inch (dpi) ที่ใช้ความละเอียดของรูปถาพที่พิมพ์ออกมา ซึ่งความละเอียดที่ได้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่อง ในทางปฏิบัติ หน่วย ppi กับ dpi อาจใช้แทนกันได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับว่าความละเอียดของรูปภาพในหน้าจอมีหน่วยเป็น dpi แทนท่จะเป็น ppi ที่ถูกต้อง
ความละเอียดของรูปภาพ
                โดยปรกติแล้ว รูปภาพทุกรูปในเว็บไซท์ควรจะมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็ เพียงพอแล้ว เรื่องจากจอมอนิเตอร์องผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความละเอียดต่ำ (72 ppi) ดังนั้นแม้ว่ารูปภาพจะมีความละเอียดสูงกว่านี้เราก็ไม่อาจมองเห็นความแตก ต่างได้
                เมื่อเปรียบเทียบความละเอียดของรูปภาพในเว็บกับในสิ่งพิมพ์ คุณจะเห็นความแตกต่างกันว่ารูปภาพในเว็บมีคุณภาพที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีข้อมูลและรายละเอียดของรูปภาพที่น้อยกว่าทำให้รูปที่ได้มองดูมี ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของรูปภาพในเว็บ
ปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ของกราฟิก
                แม้ว่ากราฟิกและรูปภาพต่างๆ จะช่วยสึความหมายและสร่างประโยชน์อีกหลายอย่าง เราควรรู้ถึงข้อเสียของกราฟิกเหล่านี้ไว้บ้าง โดยปรกติ แล้วข้อมูลในเว็บไซท์ประกอบด้วยไฟล์ HTML ที่เป็นตัวอักษร และกราฟิกหรือรูปภาพเป็นสิ่งสำคัญ กราฟิกใช้เวลาในการดาวน์โหลดมาก กว่าตัวอักษรหลายเท่า ดังนั้นกราฟิกขนาดใหญ่อาจใช้เวลาในการสแดงผลนานมาก เมื่อผู้ใช้ระบบการเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ทที่ค่อนข้างช้า
                แม้ว่ากราฟิกของคุณจะออกแบบมาอย่างดีเพียงใด ถ้าต้องใช้เวลาในการโหลดนาน จรทำให้ผู้ใช้รู้สึกหงุดหงิด และเปลี่ยนใจไม่รอดูรูปเหล่านั้นสิ่งที่คุณทุ่มเทออกไปไว้ก็จะมีมีความหมาย เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้านี้เราจึงต้องทำการลดขนาดไฟล์กราฟิกลงให้เล็ก เข้าไว้ก่อน
ลดขนาดไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บ (Optimizing Web Graphic)
                ปัญหาความเชื่องช้าของอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ออกแบบเว็บไซท์ต้องระมัดระวังใน เรื่องของเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเป็นอย่างมาก แนวทางง่ายๆ สำหรับผู้มีหน้าที่ออกแบบกราฟิกำหรับเว็บก็คือพยายามทำให้กราฟิกมีขนาดเล็ก มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
                ทั้งนี้ผู้ออกแบบต้องรู้จักที่จะสร้างความสมดุลระหว่างความสวยงามกับความ เร็วในการแสดงผลเรื่องจากการสร้างเว็บโดยไม่มีรูปภาพกราฟิกใดๆ เลยย่อมไม่น่าสนใจ เพราะกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ และสร้างความบันเทิงต่อผู้ชม ดังนนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือการสร้างเว็บที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กราฟิกที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว
                การ Optimize กราฟิกจะช่วยลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงได้ทำให้แสดงผลได้เร็วขึ้น และทำให้การปราฏของสีอย่างถูกต้องในหน้าจอของผู้ใช้

  >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>