เรื่องที่ถูกมองข้ามเกี่ยวกับ 'น้ำ'
อย่าง ที่ทราบกันดีว่า น้ำเป็นเครื่องดื่มที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และพบได้โดยทั่วไปในโลก และมนุษย์เราก็ดื่มน้ำมาเป็นเวลานาน แต่ถึงอย่างนี้ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับน้ำ และการดื่มน้ำ มีอะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับน้ำบ้าง?
ข้อ 1. คนเราต้องการน้ำวันละประมาณ 8-12 ถ้วย (หรือราว 2-3 ลิตร) ความต้องการดังกล่าวจะแตกต่างกันตามอายุ เพศ ความแข็งแรงและความกระฉับกระเฉงของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วร่าง กายของคนเราโดยทั่วไปต้องการน้ำวันละประมาณ 1ลิตรต่อน้ำหนักตัวทุกๆ 25กิโลกรัม ซึ่งตรงตามคำแนะนำที่ให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8แก้ว ที่เราคุ้นกันดี
ข้อ 2. อุณหภูมิของน้ำไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของร่างกาย นั่นเป็นเพราะไม่ว่าน้ำจะอยู่ในอุณหภูมิใดๆ ทั้งน้ำอุ่น น้ำที่มีอุณห ภูมิปกติ หรือน้ำเย็น ต่างก็ให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกายได้เหมือนกัน แต่ระดับอุณหภูมิของน้ำต่างหากที่จะมีผลต่ออัตราการดื่มน้ำของเรา มีบางคนคิดว่าน้ำที่ใส่น้ำแข็งจะช่วยลดน้ำหนัก
โดย เชื่อว่าเมื่อน้ำเข้าสู่ร่างกาย อุณหภูมิที่สูงกว่าของร่างกายจะช่วยเผาผลาญแคลอรี ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ความเชื่อนั้นถูก ต้องตามหลักทฤษฎี แต่แคลอรีที่ใช้ไปเป็นปริมาณที่น้อยมากแทบจะไม่มีนัยสำคัญเลย นอกจากนี้ "การดื่มน้ำเย็นจัด" ยังทำให้เรารู้สึกปวดหัวจี๊ดขึ้นมาทันทีได้อีกด้วย
ข้อ 3. ผัก-ผลไม้ให้น้ำแก่ร่างกายในปริมาณมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการทั้งหมด อาหารประเภทน้ำจะให้ปริมาณน้ำได้ตรงตามความต้องการของร่างกาย และถ้าอาหารที่เราบริโภคมีผักและผลไม้ในปริมาณมาก เสริมด้วยน้ำที่ดื่มในระหว่างมื้ออาหาร ก็จะทำให้เราได้รับน้ำในปริมาณที่ตรงตามความต้องการของร่างกายเช่นกัน โดยอาหาร 1 มื้อที่ประกอบด้วยสลัดผัก ผัดบร็อกโคลี ข้าวกล้อง ตบท้ายด้วยแตงโมเป็นของหวาน จะให้น้ำแก่ร่างกายของเราประมาณ 3 แก้ว อย่างไรก็ตาม มีผู้บริโภคหลายรายที่เลือกรับประทานอาหาร "แห้ง" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูป จำพวกชีสเบอร์เกอร์เสิร์ฟกับมันฝรั่งทอดถุงโต ซึ่งให้น้ำน้อยกว่าครึ่งถ้วย และแน่นอนว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างแน่นอน
ข้อ 5. น้ำบรรจุขวดไม่ได้สะอาด หรือปลอดภัยกว่าน้ำประปา เสมอไป การตัดสินใจดื่มน้ำประปาหรือน้ำบรรจุขวดสำเร็จ เป็นการตัดสินใจเฉพาะบุคคล ในสหรัฐอเมริกามีสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดูแลและกำหนดมาตรฐาน คุณภาพน้ำประปา โดยมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำ และจัดส่งรายงานคุณภาพน้ำให้แก่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่น้ำบรรจุขวดสำเร็จ มีสำนักงานอาหารและยาเป็นผู้ดูแลและตรวจสอบ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับน้ำประปา แต่ใช้ระบบทดสอบและรายงานที่แตกต่างจากน้ำประปาชุมชน
ทั้ง นี้ จากการศึกษาพบว่า น้ำบรรจุขวดสำเร็จร้อยละ 25 มาจากน้ำประปาที่นำมาบรรจุขวด ซึ่งอาจผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการบำบัดคุณภาพน้ำก่อนนำมาบรรจุขวด อย่างไรก็ตาม โรงกรองน้ำจะมีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์น้ำขวดหรือน้ำประปา แต่ที่แน่ๆ ก็คือ น้ำประปาในสหรัฐประชาชนสามารถดื่มได้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ทานผักรสขมเป็นทั้งอาหารและยา
ถ้า เอ่ยชื่อผักที่มีรสขม เชื่อได้เลยว่าทุกคนคงนึกถึงผักจำพวกสะเดา ขี้เหล็ก มะระ และใบยอ เรามาดูกันว่าพืชผักเหล่านี้มีคุณค่าทางโภชนาการและนำไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ขี้เหล็ก...ดอก ตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ขี้เหล็กถือเป็นยานอนหลับชั้นยอด ช่วยระบายท้องได้ดี บำรุงร่างกาย แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ช่วยลดความดันโลหิต และรักษากามโรค มีสารอาหาร เช่น วิตามินเอและซีค่อนข้างสูง มีเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน ยอดขี้เหล็กมีสารช่วยคลายเครียดทำให้นอนหลับสบาย เมนูขี้เหล็กที่นิยมมีทั้งดอกตูมและใบอ่อน เช่น แกงคั่วใส่กะทิ หรือกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงขี้เหล็กจะอร่อยก็ต้องมีกะทิใส่ปลาย่างหรือหมูสับ กะทิในแกงขี้เหล็กไม่ได้ใส่เพื่อเพิ่มความอร่อยอย่างเดียว แต่มีส่วนในการดึงสารเบต้าแคโรทีนในขี้เหล็กออกมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นอีก ด้วย
มะระ...ทั้ง มะระจีนและมะระขี้นก ในตำรายาไทยบอกว่าเป็นยาเจริญอาหาร ยาระบาย หัวเข่าบวม บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ ขับพยาธิ มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงระดู แพทย์จีนเชื่อว่ามะระมีพลังของความเย็น ช่วยขับพิษ ช่วยฟอกเลือด บำรุงตับ มีผลดีต่อสายตาและผิวหนัง แม่บ้านชาวจีน มักจะปรุงอาหารด้วยมะระ ให้คนในครอบครัวรับประทานยามเป็นสิวที่ใบหน้าและร่างกาย เมนูมะระ เช่น ผลอ่อนและยอดอ่อนนำมาลวก/ต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ถ้าราดด้วยน้ำกะทิจะมีรสชาติดีขึ้น ผัดใส่ไข่ แกงกะทิ แกงจืดยัดไส้หมูสับ ส่วนมะระขี้นกมีรสขมกว่ามะระจีน ผลอ่อนนำไปต้ม/เผากินกับน้ำพริก หรือราดกะทิสดเพิ่มรสชาติ แกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ แกงเผ็ด ผัดกับไข่ ยอดมะระลวกจิ้มน้ำพริกหรือทานกับปลาป่นของชาวอีสาน และนิยมนำใบใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว
ยอ...ผัก พื้นบ้านที่คนไทยรู้จักดีและบริโภคเป็นอาหารมานาน ทั้งใบและผลยอมีวิตามินซีสูง ช่วยต้านมะเร็ง กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพ ลดอาการภูมิแพ้ ช่วยให้การทำงานของเซลล์ในร่างกายเป็นปกติ เป็นยาระบาย ช่วยขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงธาตุ ผู้หญิงควรกินลูกยอที่แก่จัดเพื่อบำรุงเลือดลม ปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ คนโบราณเชื่อว่าถ้าเลือดลมดี ผิวพรรณก็จะเปล่งปลั่ง สดใส ไม่เป็นสิวฝ้า เราจึงควรหาโอกาสทานอาหารที่มียอเป็นส่วนประกอบเพราะนอกจากจะมีคุณค่าทาง อาหารสูงแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายเป็นปกติโดยไม่เสียสมดุล เมนูเด็ดใบยอ เช่น แกงใบยอปลาดุก ห่อมกใบยอ แกงอ่อมใบยอ ข้าวยำใบยอ เมี่ยงใบยอ หรือยอดใบยอจิ้มน้ำพริกก็อร่อยไปอีกแบบ ส่วนผลก็ลองนำลูกยอสุกงอมจิ้มเกลือกับน้ำตาลกินหรือบางคนอาจยังไม่เคยทาน ส้มตำลูกยอ และปัจจุบันก็มีการผลิตน้ำลูกยอขายลองไปหามาชิมดู
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ต้นกระบองเพชร
กระบองเพชร ดูเหมือนจะเป็นต้นไม้ที่มีรูปร่างแปลกตาไปจากต้นไม้ที่เราเห็นกันทั่วไป ที่มีลำต้นสูงใหญ่และมีใบปกคลุมเต็มต้นโดยกระบองเพชรส่วนใหญ่มีลำต้นเตี้ย และอวบน้ำ มีหนามรอบต้น
กระบอกเพชรมีใบไม่
กระบองเพชร เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่เราพบได้ทั่วไป ทั้งบนโต๊ะทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในกระถางหน้าบ้าน กระบองเพชรส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา โดยต้นกระบองเพชรที่คนไทยรู้จักกันดี ได้แก่ ต้นโบตั๋น บางคนอาจรู้จักกระบองเพชรในอีกชื่อหนึ่ง นั่นคือ แคคตัส (cactus) คำว่า "แคคตัส" เป็นภาษากรีกแปลว่า "ต้นไม้ที่มีหนาม" ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของต้นกระบองเพชร หากเราสังเกตต้นกระบองเพชรจะเห็นได้ว่า บนต้นกระบองเพชรไม่มีใบ แต่มีหนามขึ้นมาเต็มต้นแทน แท้จริงแล้วใบของต้นกระบองเพชรได้วิวัฒนาการลดรูปเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามตาม ที่เราเห็นอยู่รอบต้นนั่นเอง
ทำไมต้นกระบองเพชร ต้องเปลี่ยนใบเป็นหนาม
ต้นตระกูลเดิมของต้นกระบองเพชร มีตั้งแต่ช่วงปลายยุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) และช่วงต้นของยุคเทอเชียรี (Tertiary Period) โดยยังคงมีลักษณะเหมือนพืชอื่นที่มีใบที่แท้จริง แต่เนื่องจากต้องเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งตลอดเวลา รวมทั้งปริมาณน้ำฝนที่ลดลง ต้นกระบองเพชรจึงมีวิวัฒนาการลดรูปใบไปเป็นหนามเพื่อให้สามารถต้านทานสภาพ แวดล้อมเช่นนี้ได้
การเปลี่ยนใบเป็นหนามช่วยให้กระบอกเพชรอยู่ในสภาพแห้งแล้งได้อย่างไร
ลองนึกดูว่าปกติแล้วใบของพืชทำหน้าที่อะไร หน้าที่ของใบพืช คือ สังเคราะห์ด้วยแสง และแลกเปลี่ยนแก๊ส รวมไปถึง การคายน้ำ (transpiration) พืชมีการคายน้ำในรูปของไอน้ำผ่านทาง ปากใบ (stomata) หากเรานำผิวใบไปส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ก็จะเห็นเซลล์รูปร่างคล้ายกับเมล็ด ถั่วอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละเซลล์เรียกว่า เซลล์คุม (guard cell) และมีช่องเล็กๆ อยู่ ระหว่างเซลล์คุม ที่เรียกว่า ปากใบ น้ำจากเซลล์ที่อยู่รอบช่องว่างใกล้กับปากใบ จะระเหยเป็นไอน้ำ และอยู่ภายในช่องว่าง จากนั้นไอน้ำจะเคลื่อนที่ผ่านปากใบสู่บรรยากาศภายนอก พืชจำเป็นต้องมีการคายน้ำเพื่อช่วยในการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากสารละลาย ในดินผ่านเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำจากรากสู่ใบโดยอาศัยแรงดึงของน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิของใบ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการคายน้ำ คือ ความชื้นในบรรยากาศ เมื่ออากาศร้อน และความชื้นในบรรยากาศต่ำ พืชจะมีอัตราการคายน้ำสูง ดังนั้น กระบองเพชรซึ่งมีถิ่นอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่แห้งแล้งเช่นในทะเลทราย จึงจำเป็นต้องลดอัตราการคายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียน้ำมากเกินไปด้วยการวิวัฒนาการลดรูปใบเปลี่ยนเป็น หนาม
นอกจากนี้แล้ว หนามของต้นกระบองเพชรยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกด้วย โดยหนามแหลมจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตัวจากสัตว์ที่จะมากัดกินเพื่อหาน้ำดื่ม ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับหนามของต้นกุหลาบและต้นเฟื่องฟ้าที่มีเพื่อ ป้องกันอันตราย แต่หนามของต้นกุหลาบและเฟื่องฟ้าเป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากส่วนของลำต้น
กระบองเพชร เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่เราพบได้ทั่วไป ทั้งบนโต๊ะทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในกระถางหน้าบ้าน กระบองเพชรส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา โดยต้นกระบองเพชรที่คนไทยรู้จักกันดี ได้แก่ ต้นโบตั๋น บางคนอาจรู้จักกระบองเพชรในอีกชื่อหนึ่ง นั่นคือ แคคตัส (cactus) คำว่า "แคคตัส" เป็นภาษากรีกแปลว่า "ต้นไม้ที่มีหนาม" ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของต้นกระบองเพชร หากเราสังเกตต้นกระบองเพชรจะเห็นได้ว่า บนต้นกระบองเพชรไม่มีใบ แต่มีหนามขึ้นมาเต็มต้นแทน แท้จริงแล้วใบของต้นกระบองเพชรได้วิวัฒนาการลดรูปเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามตาม ที่เราเห็นอยู่รอบต้นนั่นเอง
ทำไมต้นกระบองเพชร ต้องเปลี่ยนใบเป็นหนาม
ต้นตระกูลเดิมของต้นกระบองเพชร มีตั้งแต่ช่วงปลายยุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) และช่วงต้นของยุคเทอเชียรี (Tertiary Period) โดยยังคงมีลักษณะเหมือนพืชอื่นที่มีใบที่แท้จริง แต่เนื่องจากต้องเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งตลอดเวลา รวมทั้งปริมาณน้ำฝนที่ลดลง ต้นกระบองเพชรจึงมีวิวัฒนาการลดรูปใบไปเป็นหนามเพื่อให้สามารถต้านทานสภาพ แวดล้อมเช่นนี้ได้
การเปลี่ยนใบเป็นหนามช่วยให้กระบอกเพชรอยู่ในสภาพแห้งแล้งได้อย่างไร
ลองนึกดูว่าปกติแล้วใบของพืชทำหน้าที่อะไร หน้าที่ของใบพืช คือ สังเคราะห์ด้วยแสง และแลกเปลี่ยนแก๊ส รวมไปถึง การคายน้ำ (transpiration) พืชมีการคายน้ำในรูปของไอน้ำผ่านทาง ปากใบ (stomata) หากเรานำผิวใบไปส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ก็จะเห็นเซลล์รูปร่างคล้ายกับเมล็ด ถั่วอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละเซลล์เรียกว่า เซลล์คุม (guard cell) และมีช่องเล็กๆ อยู่ ระหว่างเซลล์คุม ที่เรียกว่า ปากใบ น้ำจากเซลล์ที่อยู่รอบช่องว่างใกล้กับปากใบ จะระเหยเป็นไอน้ำ และอยู่ภายในช่องว่าง จากนั้นไอน้ำจะเคลื่อนที่ผ่านปากใบสู่บรรยากาศภายนอก พืชจำเป็นต้องมีการคายน้ำเพื่อช่วยในการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากสารละลาย ในดินผ่านเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำจากรากสู่ใบโดยอาศัยแรงดึงของน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิของใบ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการคายน้ำ คือ ความชื้นในบรรยากาศ เมื่ออากาศร้อน และความชื้นในบรรยากาศต่ำ พืชจะมีอัตราการคายน้ำสูง ดังนั้น กระบองเพชรซึ่งมีถิ่นอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่แห้งแล้งเช่นในทะเลทราย จึงจำเป็นต้องลดอัตราการคายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียน้ำมากเกินไปด้วยการวิวัฒนาการลดรูปใบเปลี่ยนเป็น หนาม
นอกจากนี้แล้ว หนามของต้นกระบองเพชรยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกด้วย โดยหนามแหลมจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันตัวจากสัตว์ที่จะมากัดกินเพื่อหาน้ำดื่ม ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับหนามของต้นกุหลาบและต้นเฟื่องฟ้าที่มีเพื่อ ป้องกันอันตราย แต่หนามของต้นกุหลาบและเฟื่องฟ้าเป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากส่วนของลำต้น
นอกจากใบ มีส่วนอื่นที่เปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่
ไม่มีเพียงแต่ลักษณะใบที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนอื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสภาพร้อนแห้งแล้งได้ดี เมื่อลองสังเกตลักษณะลำต้นของต้นกระบองเพชร จะเห็นได้ว่ามีลักษณะ อวบอ้วนและเตี้ย นั่นก็เพื่อช่วยให้สามารถสะสมน้ำจำนวนมากไว้ที่ลำต้นได้ เนื่องจากบริเวณที่ต้นกระบองเพชรเติบโตมีน้ำน้อยฝนตกไม่บ่อย นอกจากนี้ ถ้าสังเกตบริเวณผิวลำต้นจะพบว่า มีลักษณะ เป็นขี้ผึ้งเคลือบอยู่ ก็เพื่อช่วยลดการคายน้ำเช่นกัน พืชบางชนิดที่เจริญในที่แห้งแล้งเช่นเดียวกับต้นกระบองเพชร แต่ไม่มีการลดรูปใบเป็นหนาม ก็อาจมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงใบให้มีลักษณะอวบน้ำ เพื่อเก็บสะสมน้ำแทน เช่น ใบว่าน และ ต้นหางจระเข้
ทำไมกระบองเพชรจึง มีลำต้นสีเขียว
ทำไมต้นกระบองเพชรจึงไม่มีสีน้ำตาลเหมือนต้นไม้อื่นๆ การที่ลำต้นมีสีเขียวแสดงว่า ต้นกระบองเพชรมีไว้เพื่อทำหน้าที่อะไรบางอย่าง ลองเปรียบเทียบกับส่วนอื่นของพืชที่มีสีเขียวเหมือนกันนั่นคือ"ใบ" ภายในใบจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (chloroplast) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งภายในคลอโรพลาสต์มีรงควัตถุสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟีลล์ (chlorophyll) โดยคลอโรพลาสต์ในใบมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างอาหารหรือน้ำตาล ที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่พืชในการดำรงชีวิตสีเขียว ที่เราเห็นที่ลำต้นของกระบองเพชรก็มาจากเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์ เนื่อง จากต้นกระบองเพชรไม่มีใบที่จะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงต้องอาศัย ลำต้นที่มีสีเขียว ขนาดขยายใหญ่ ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารแทน
นอกจากใบ ลำต้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ลักษณะรากของต้นกระบองเพชรยังมีการปรับให้เหมาะกับบริเวณที่มีน้ำน้อย และฝนตกไม่บ่อยด้วย โดยรากของกระบองเพชรจะมีลักษณะแพร่กระจายไปกว้าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดน้ำ และจะอยู่บริเวณผิวดิน
ไม่มีเพียงแต่ลักษณะใบที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนอื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสภาพร้อนแห้งแล้งได้ดี เมื่อลองสังเกตลักษณะลำต้นของต้นกระบองเพชร จะเห็นได้ว่ามีลักษณะ อวบอ้วนและเตี้ย นั่นก็เพื่อช่วยให้สามารถสะสมน้ำจำนวนมากไว้ที่ลำต้นได้ เนื่องจากบริเวณที่ต้นกระบองเพชรเติบโตมีน้ำน้อยฝนตกไม่บ่อย นอกจากนี้ ถ้าสังเกตบริเวณผิวลำต้นจะพบว่า มีลักษณะ เป็นขี้ผึ้งเคลือบอยู่ ก็เพื่อช่วยลดการคายน้ำเช่นกัน พืชบางชนิดที่เจริญในที่แห้งแล้งเช่นเดียวกับต้นกระบองเพชร แต่ไม่มีการลดรูปใบเป็นหนาม ก็อาจมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงใบให้มีลักษณะอวบน้ำ เพื่อเก็บสะสมน้ำแทน เช่น ใบว่าน และ ต้นหางจระเข้
ทำไมกระบองเพชรจึง มีลำต้นสีเขียว
ทำไมต้นกระบองเพชรจึงไม่มีสีน้ำตาลเหมือนต้นไม้อื่นๆ การที่ลำต้นมีสีเขียวแสดงว่า ต้นกระบองเพชรมีไว้เพื่อทำหน้าที่อะไรบางอย่าง ลองเปรียบเทียบกับส่วนอื่นของพืชที่มีสีเขียวเหมือนกันนั่นคือ"ใบ" ภายในใบจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ (chloroplast) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งภายในคลอโรพลาสต์มีรงควัตถุสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟีลล์ (chlorophyll) โดยคลอโรพลาสต์ในใบมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างอาหารหรือน้ำตาล ที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่พืชในการดำรงชีวิตสีเขียว ที่เราเห็นที่ลำต้นของกระบองเพชรก็มาจากเซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์ เนื่อง จากต้นกระบองเพชรไม่มีใบที่จะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงต้องอาศัย ลำต้นที่มีสีเขียว ขนาดขยายใหญ่ ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารแทน
นอกจากใบ ลำต้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ลักษณะรากของต้นกระบองเพชรยังมีการปรับให้เหมาะกับบริเวณที่มีน้ำน้อย และฝนตกไม่บ่อยด้วย โดยรากของกระบองเพชรจะมีลักษณะแพร่กระจายไปกว้าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดน้ำ และจะอยู่บริเวณผิวดิน
ดอกของต้นกระบองเพชรส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ โดยเจริญมาจากบริเวณเดียวกับบริเวณที่มีหนาม และจะบานในเวลากลางคืน โดยมีแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะผีเสื้อกลางคืน และค้างคาว ช่วยในการผสมละอองเรณู
หากกล่าวถึงผลของต้นกระบองเพชร คงมีน้อยคนที่จะนึกออกว่ามีรูปร่างลักษณะอย่างไร แต่หากพูดถึง ผลแก้วมังกร ซึ่งเป็นผลของต้นกระบองเพชรชนิดหนึ่ง ทุกคนคงนึกออก คือมีเปลือกสี ชมพูเข้ม ลักษณะเนื้อมีทั้งสีขาและสีชมพู และมีเมล็ดสีดำอยู่ภายใน การขยายพันธุ์ต้นกระบองเพชร สามารถใช้วิธีเพาะเมล็ด วิธีการตัดแยก หรือวิธีการต่อยอดก็ได้
สรุปก็คือ ใบของต้นกระบองเพชรที่หายไปจริงๆ แล้วลดรูปไปเป็นหนาม เพื่อลดอัตราการคายน้ำ และส่วนต่างๆ ของพืชเองก็สามารถวิวัฒนาการไปเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จะเห็นได้ว่า ทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนมีเหตุผลและหน้าที่ทั้งนั้น นี่
แหละความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ทุกอย่างล้วนเป็นเหตุและผลกัน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ลดการใช้สารเคมีด้วยมะนาว
มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอม และช่วยเสริมรสชาติอาหารและเครื่องดื่มได้ดียิ่งขึ้น แต่ประโยชน์ของมะนาวไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถเอามาใช้ทำความสะอาดและดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ในบ้านเรือนของเราอย่างได้ผลดี ซึ่งไม่เพียงแค่ประหยัดเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อมได้ดีอีก ด้วย เราลองมาดูประโยชน์บางข้อของการใช้มะนาวกันดีกว่า
กำจัดมด
เทน้ำมะนาวไปรอบบริเวณที่มดเดินผ่านบ่อยๆ จะช่วยไล่มดไปได้
ใช้ เป็นน้ำยาปรับอากาศ
ผสมน้ำมะนาวและน้ำเปล่าในอัตราส่วนที่เท่ากัน แล้วนำไปใส่กระบอกฉีดหรือเครื่องพ่นน้ำยาปรับอากาศ เป็นน้ำยาปรับอากาศแบบง่ายๆ ที่ให้กลิ่นสดชื่นแบบปราศจากสารเคมี
ทำ ความสะอาดไมโครเวฟ
นำมะนาวผ่าซีก สัก 2-3ชิ้น และน้ำเปล่าใส่ชามไปตั้งอุ่นในไมโครเวฟประมาณ 30วินาทีถึง 1นาทีแล้วเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วเตาไมโครเวฟ คราบที่ติดตามผนังจะทำความสะอาดได้ง่ายและช่วยกำจัดกลิ่นอาหารที่ติดอยู่
กำจัดกลิ่นในตู้เย็น
ใช้มะนาวผ่าครึ่งผลแช่ไว้ในตู้เย็นจะช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
ทำความสะอาดจาน
ใช้น้ำมะนาว 1ช้อนชา ผสมลงไปในน้ำยาล้างจาน จะช่วยกำจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น
กำจัดมด
เทน้ำมะนาวไปรอบบริเวณที่มดเดินผ่านบ่อยๆ จะช่วยไล่มดไปได้
ใช้ เป็นน้ำยาปรับอากาศ
ผสมน้ำมะนาวและน้ำเปล่าในอัตราส่วนที่เท่ากัน แล้วนำไปใส่กระบอกฉีดหรือเครื่องพ่นน้ำยาปรับอากาศ เป็นน้ำยาปรับอากาศแบบง่ายๆ ที่ให้กลิ่นสดชื่นแบบปราศจากสารเคมี
ทำ ความสะอาดไมโครเวฟ
นำมะนาวผ่าซีก สัก 2-3ชิ้น และน้ำเปล่าใส่ชามไปตั้งอุ่นในไมโครเวฟประมาณ 30วินาทีถึง 1นาทีแล้วเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วเตาไมโครเวฟ คราบที่ติดตามผนังจะทำความสะอาดได้ง่ายและช่วยกำจัดกลิ่นอาหารที่ติดอยู่
กำจัดกลิ่นในตู้เย็น
ใช้มะนาวผ่าครึ่งผลแช่ไว้ในตู้เย็นจะช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
ทำความสะอาดจาน
ใช้น้ำมะนาว 1ช้อนชา ผสมลงไปในน้ำยาล้างจาน จะช่วยกำจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>